In English, Thai

ในการขนส่งสินค้าอันตราย จะมีการขอเอกสารนี้ทุกครั้ง ซึ่งนั้นก็คือ  MSDS (Material Safety Data Sheets)

คือ เอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัว  เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีการใช้  การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัด และการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนดซึ่ง MSDS หรือ SDS  ก็มีความหมายอย่างเดียวกันคือเอกสารที่ให้ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี

MSDS/SDS จะประกอบไปด้วย

1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี บริษัทผู้ผลิต และหรือผู้จำหน่าย ( Identification) แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับที่แสดงบนฉลากของผลิตภัณฑ์ ชื่อสารเคมี วัตถุประสงค์การใช้งานของผลิตภัณฑ์ ชื่อที่อยู่และหมายเลข โทรศัพท์ของผู้ผลิต ผู้นำ เข้าหรือผู้จัดจำหน่าย และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

2.ข้อมูลความเป็นอันตราย ( Hazards Identification) โดยระบุว่า

  • เป็นสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์อันตรายหรือไม่ และเป็นสารประเภทใดตาม เกณฑ์การจัดประเภทความเป็นอันตราย และระบุความเป็นอันตรายต่อ มนุษย์และสิ่งแวดล้อมด้วย
  • ลักษณะความเป็นอันตรายที่สำคัญที่สุดของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และอาการที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้และการใช้ที่ผิดวิธี
  • ความเป็นอันตรายอื่นๆ ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะไม่ได้จัดอยู่ในประเภท ของความเป็นอันตรายตามข้อกำหนด
  1. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (composition/information on ingredients)   ระบุสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในเคมีภัณฑ์ ปริมาณความเข้มข้นหรือช่วงของความเข้มข้นของสารเคมีที่เป็นส่วน ผสมของเคมีภัณฑ์ แสดงสัญลักษณ์ประเภทความเป็นอันตราย และรหัส ประจำ ตัวของสารเคมี
  2.  มาตรการปฐมพยาบาล  (first aid measures)  ระบุ วิธีการปฐมพยาบาลที่พิจารณาถึงคุณสมบัติและความ เป็นอันตรายของสาร และความเหมาะสมกับลักษณะของ การได้รับหรือสัมผัสกับสารนั้น รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ ในการช่วยเหลือเป็นพิเศษสำหรับเคมีภัณฑ์บางอย่าง
  3.  มาตรการผจญเพลิง (firefighting measures) แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ อันเนื่องมาจากสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ ประกอบด้วย วัสดุที่เหมาะสมสำหรับการดับเพลิง วัสดุที่ไม่เหมาะสม สำหรับการดับเพลิง ความเป็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อ เกิดเหตุเพลิงไหม้ ความเป็นอันตรายที่เกิดจากการ เผาไหม้ของผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันภัย สำหรับผู้ผจญเพลิงหรือพนักงานดับเพลิง และคำแนะนำอื่นๆ ในการดับเพลิง
  4. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหล (accidental release measures)  ครอบคลุมถึงการป้องกันส่วนบุคคลเพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายในการจัดการสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่หกรั่วไหล การดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อ สิ่งแวดล้อม และวิธีทำความสะอาด เช่น การ ใช้วัสดุในการดูดซับ เป็นต้น
  5. การใช้และการจัดเก็บ (handling and storage)  ครอบคลุมถึงข้อปฏิบัติในการใช้ทั้งเรื่องการจัดเก็บ สถานที่และการระบายอากาศ มาตรการป้องกันการเกิด ละอองของเหลว มาตรการเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การเก็บรักษาอย่างปลอดภัย และข้อบ่งใช้พิเศษ
  6. การควบคุมการได้รับสัมผัสและการป้องกันส่วน บุคคล (exposure controls/personal protection) ครอบคุลมถึงปริมาณที่จำกัดการได้รับสัมผัส สำหรับผู้ปฏิบัติงานกับสารเคมีนั้น (exposure limit values) การควบคมุการได้รับสัมผัสสาร (exposure controls) เช่น หน้ากาก ถุงมือที่ใช้ป้องกันขณะปฏิบัติงานและความ รับผิดชอบของผู้ใช้สารเคมีตามกฎหมายเกี่ยวกับการ ป้องกันสิ่งแวดล้อมหากทำ รั่วไหลปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม
  7. สมบัติทางกายภาพและเคมี  (physical and chemical properties)  ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป เช่น ลักษณะ ที่ปรากฏ กลิ่น เป็นต้น ข้อมูลที่สำคัญต่อสุขภาพความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เช่น ความเป็นกรด-ด่าง (pH) จุดเดือด/ช่วงการ เดือด จุดวาบไฟ ความไวไฟ สมบัติ การระเบิด ความดันไอ อัตราการระเหย เป็นต้น และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับความปลอดภัย
  8. ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา (stability and reactivity)  แสดงข้อมูลที่ครอบคลุมถึงสภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น รายการของสภาวะต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุให้ สารเคมีหรือเคมีภัณฑ์เกิดปฏิกิริยาที่อันตราย วัสดุที่ ควรหลีกเลี่ยง และสารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัว ของสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  9. ข้อมูลด้านพิษวิทยา  (toxicological information)  คำ อธิบายที่สั้นและชัดเจนถึงความเป็นอันตรายที่มีต่อ สุขภาพจากการสัมผัสกับสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ที่ได้จาก การค้นคว้าและบทสรุปของการทดลองทางวิทยาศาสตร์ จำ แนกข้อมูลตามลักษณะและช่องทางการรับสัมผัสสารเข้า สู่ร่างกาย เช่น ทางการหายใจทางปาก ทางผิวหนัง และทาง ดวงตา เป็นต้น และข้อมูลผลจากพิษต่าง ๆ เช่น ก่อให้เกิด อาการแพ้ ก่อมะเร็ง เป็นต้น
  10. ข้อมูลด้านระบบนิเวศ (ecological information)  ระ บุถึงการเปลี่ยนแปลงและการสลายตัวของสารเคมีในสิ่งแว ดล้อม และความเป็นไปได้ของผลกระทบ และผลลัพธ์ต่อสิ่ง แวดล้อม ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการทดสอบ เช่น ข้อมูลความ เป็นพิษที่มีต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำ (ecotoxicity), ระดับ ปริมาณที่ถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม (mobility)ระดับ/ ความสามารถในการคงอยู่และสลายตัวของสารเคมีหรือ ส่วนประกอบเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อม (persistence and degradability) และระดับหรือปริมาณการสะสมในสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม (bio accumulative potential)
  11. ข้อพิจารณาในการกำจัด   (disposal considerations)  ระบุวิธีการกำจัดสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมและถ้าการกำจัดสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์มี ความเป็นอันตรายต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนที่เหลือจากการกำจัด และข้อมูลในการจัดการกากอย่างปลอดภัย
  12. ข้อมูลสำ หรับการขนส่ง (transport information)   แสดงข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งที่ผู้ใช้จำเป็นต้องรู้ หรือใช้ ติดต่อสื่อสารกับบริษัทขนส่ง
  13. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (regulatory information) แสดงข้อมูลกฎหมายหรือข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของสารเคมี
  14.  ข้อมูลอื่นๆ  (other information)  แสดงข้อมูลต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดเตรียม SDS ที่ผู้จัดจำหน่ายประเมินแล้ว เห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ และไม่ได้แสดงอยู่ในหัวข้อ 1-15 เช่น ข้อมูลอ้างอิง แหลง่ข้อมูลที่รวบรวม ข้อมูลการ ปรับปรุงแก้ไข คำย่อ เป็นต้น

และในการขนส่งสินค้าอันตราย ควรเลือกบริษัทที่มีความชำนาญในการขนส่งด้านนี้โดยเฉพาะ ทรานสปีดยินดีให้คำปรึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Recent Posts