ทุกวันนี้ มี e Commerce Platform มากมาย ให้นักช้อป ได้เข้าไปเลือกสรร และกดสั่งซื้อง่ายๆ ทำให้การสั่งสินค้าจากต่างประเทศ เข้ามาเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะแค่กดสั่ง แล้วก็เลือกว่าจะใช้ Shipping เจ้าไหน ไม่ยุ่งยากเลยค่ะ สินค้ายอดนิยมที่สั่งกันบ่อยๆ นอกจาก เครื่องสำอาง รองเท้า เสื้อผ้า กระเป๋า ก็จะมี โฟโต้บุ๊ค อัลบั้มศิลปิน ของสะสมต่างๆ
แต่อาจจะมีหลายคนที่ยังคงสับสนในการเสียภาษีนำเข้า เพราะเข้าใจว่าสั่งของมาใช้ส่วนตัว ไม่ได้สั่งมาเพื่อการค้า อาจจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่ความเป็นจริงแล้ว หากมีการนำเข้าของเข้ามา และของนั้นมูลค่าของสินค้า รวมค่าส่ง และค่าประกันภัยในการขนส่ง รวมทั้งสิ้น 1,500 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อให้เป็นของที่เราถูกส่งมาให้เอง ไม่ได้ซื้อก็ตาม ก็ต้องเสียภาษีนะคะ
ภาษีนำเข้ามีอะไรบ้าง และต้องจ่ายเมื่อไหร่
เมื่อมีการนำเข้าของที่เกินมูลค่าที่กำหนด
(ราคาสินค้า รวมค่าส่ง และ ค่าประกันภัยการขนส่ง(1%) เกิน 1,500 บาท )
ภาษี หลักๆ คือ ภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีนำเข้า
1.ภาษีศุลกากร
2.ภาษีสรรพสามิต
เฉพาะสินค้าบางอย่าง เช่น เหล้า ไวน์ บุหรี่ เครื่องดื่มบางชนิด ฯลฯ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วยนะคะ
และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %
ตัวอย่างอัตราภาษีนำเข้าของแต่ละประเภท
9004 แว่นตา 5%
9006 กล้อง 5%
4202 กระเป๋า 20%
6401 รองเท้า 30%
6201 เสื้อผ้า 30%
9102 นาฬิกา 5%
9609 ดินสอ 5%
3304 เครื่องสำอาง เช่น ลิป ยาทาเล็บ 30%
3301 น้ำมันหอมระเหย 5%
7323 เครื่องใช้ในครัว 20%
8543 เครื่องใช้ไฟฟ้า 10%
8471 laptop 0%
3305 shampoo 20%
3302 อโรม่าที่ยังไม่พร้อมใช้งาน 3%
9019 เครื่องมือแพทย์ 0%
9503 toy 10%
6702 ดอกไม้ปลอม 20%
0602 ต้นไม้ 0%
8518 ลำโพง 10%
9025 เครื่องวัดอุณหภูมิ 0%
7321 เตาปิ้งย่าง 20%
เรามาลองคำนวณภาษีง่ายๆกันดูนะคะ
ยกตัวอย่างว่าเรารองเท้าเข้ามา
รองเท้าเราสั่งมาในราคา 1000 บาท
ค่าขนส่ง 500 บาท
ค่าประกันภัย 1% = 500×1% = 5 บาท
รวมราคาที่จะนำมาคิดภาษี 1000 + 500 + 5 =1505 บาท
ภาษีนำเข้ารองเท้า 1505 x 30% = 451.5 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (1505+451.5) x7% = 136.96 บาท
รวมภาษีที่ต้องชำระ 451.5 + 136.96 = 588.46 บาท
พอเห็นหลักการในการคิดภาษีนำเข้าแล้วใช่ไหมคะ
และหากนำเข้าสินค้ามา และไม่สะดวกไปดำเนินการเอง สามารถให้ตัวแทนออกของ หรือที่บ้านเราเรียกกันติดปากว่า “ชิปปิ้ง” เข้าไปดำเนินพิธีการศุลกากรให้ได้นะคะ
โดยเฉพาะสินค้าที่จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าด้วย ตรงนี้อาจจะยุ่งยากนิดหน่อย หากไม่ถนัด การให้ตัวแทนออกของ หรือชิปปิ้งไปดำเนินการแทน จะสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่า ซึ่งทรานสปีดเองเป็นตัวแทนที่ได้รับมาตรฐาน AEO จากกรมศุลกากร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 02-249-9001 (10 สาย)
หรือ Add Line ID : @transpeed1986
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
https://www.transpeed.biz/%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%9b%e0%b8%9b%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%87-shipping-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%83%e0%b8%84%e0%b8%a3-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%97/
สั่งของออนไลน์จากต่างประเทศเข้ามา แต่โดนกัก หรือติดที่ศุลกากรต้องทำอย่างไร
วิธีค้นหาพิกัดอัตราอากรศุลกากร ( HS CODE )ขาเข้าด้วยตนเอง ทางอินเตอร์เน็ต