“เมียนมา” จัดได้ว่าเป็นตลาดสินค้าส่งออกไทยที่สำคัญ แนวโน้มมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปเมียนมาเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจเมียนมาเติบโตมากขึ้น
ทำให้คนเมียนมามีกำลังซื้อมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งบอกเลยว่า สินค้าไทยมียอดขายดี และยังเป็นสินค้าจากต่างชาติที่นิยมของคนเมียนมามากที่สุด ในบทความนี้เราจะพูดถึง
การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน เมียนมา
Cross- Border e-commerce of Myanmar
ข้อมูลทั่วไปของประเทศเมียนมา ในปี พศ.2561
GDP 71.54 พันล้านเหรียญสหรัฐ
จำนวนประชากร 24 ล้านคน
จำนวรผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 21 ล้านคน หรือคิดเป็น 39% จากประชากรทั้งหมด
5 อันดับสินค้าที่นิยมซื้อออนไลน์
สินค้าในประเทศ
- สินค้าแฟชั่น
- เครื่องสำอาง
- ตั๋วรถยนต์ ตั๋วเครื่องบิน ตั๋วรถไฟ
- หนังสือ
- เครื่องดื่มและอาหาร
5 อันดับช่องทางที่นิยมในการซื้อขายออนไลน์
- Shop.com.mm
- Barlolo.com
- Shopmyar.com
- Baganmart.com
ภาพรวมและแนวโน้มการขายออนไลน์ของเมียนมา
ปัจจุบันประชากรเมียนมามากกว่า 39% สามารถเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ต
ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าสู่ระบบเงินฝากธนาคาร ยังไม่ค่อยมีบัตรเครดิต
วิธีชำระเงินที่นิยมใช้ในเมียนมาคือ Cash on Delivery (COD)
โอกาสของสินค้าไทย
คนเมียนมามีทัศนคติที่ดี และความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าไทย ในปี 2018 เมียนมานำเข้าสินค้าไทยคิดเป็นมูลค่า USD 4,618 ล้าน สินค้าไทยที่นิยมคือ สินค้าแฟชั่น (เสื้อผ้า รองเท้า หมวก กระเป๋า) เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเสริมความงาม เครื่องดื่มและอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์
มูลค่าการซื้อขายตลาดออนไลน์
สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบ ซึ่งโดยส่วนมากสินค้าที่ขายออนไลน์จะมีเพียงแค่สินค้าเมียนมา สินค้าจากประเทศจีน และสินค้าไทยเท่านั้น
ข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและออนไลน์
จากข้อมูลของ globalnewlightofmyanmar.com ศึกษาพบว่าอาจมีเพียงร้อยละ 1 ของประชากรเมียนมา
ที่มีอินเทอร์เน็ต (Internet User) และมีแนวโน้มจะซื้อสินค้าออนไลน์ โดยในปี 2562 พบว่ามีผู้ที่ซื้อสินค้าออนไลน์ (Active Online Buyers) จำนวนเพียงประมาณ 180,000 คน
และมีมูลค่าการซื้อสินค้าเฉลี่ยประมาณ 20 เหรียญสหรัฐต่อครั้ง
สถิติมูลค่าการซื้อขาย Online
ศูนย์ AEC Business Advisory ของธนคารกสิกรไทย ได้วิเคราะตลาด Ecommerce ของเมียนมานั้นมีมูลค่าประมาณ 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.008 ของ GDP ประเทศเมียนมา
จากข้อมูลข้างต้น น่าจะทำให้หลายๆคนมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจการค้า กับเพื่อนบ้านเราได้นะคะ
หากต้องการข้อมูลในเรื่องการขนส่ง รวมถึงบริการชำระเงินแบบ Cash on Delivery สามารถสอบถามเราได้ที่ 02-249-9001-10
ขอบพระคุณข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ