In English, Thai

เนื่องจากในแต่ละประเทศ  แต่ละเมืองย่อมมีประเภทของสินค้า  และวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไป  ทำให้แต่ละที่  อาจเรียกชื่อแตกต่างกันด้วย

จึงต้องมีการคิดข้อกำหนดของประเภท  และชนิดสินค้าให้มีความเข้าใจตรงกันทั่วโลก  และมีความเป็นสากล  จึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นมา

เพื่อกำหนดเกณฑ์ที่เรียกว่า  HS CODE (พิกัดศุลกากร)พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์  Harmonized System (HS) เรียกเต็มๆว่า

“ระบบฮาร์โมไนซ์ เพื่อจำแนกประเภท   และกำหนดรหัสสินค้า” เป็นตัวเลข  6 หลัก กำหนดโดย World Customs Organization (WCO)

โดยแบ่งออกเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย ในการนำไปใช้ในงานจริง  เราจะใช้รหัสที่มีตัวเลข 11 หลักด้วยกัน  เรียกว่า

“พิกัดรหัสสถิติ” (commodity code)  โดยที่ 6 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดย WCO และ 2 หลักถัดมาแสดงพิกัดฮาร์โมไนซ์อาเซียน

ส่วนเลข 3 หลักหลังเป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ ดังนั้นจึงมีคำสากลที่ใช้กำหนดสินค้าคือพิกัดรหัสสถิติ (Commodity code)

hs-code2-พิกัดสินค้า

hs code-พิกัดศุลกากร

ความสำคัญของ  HS CODE

1.เพื่อเป็นพื้นฐานในการจำแนกประเภทสินค้าที่สอดคล้องและเป็นรูปแบบเดียวกัน

2.เพื่อการจัดเก็บสถิติการค้าระหว่างประเทศ

3.เพื่อเป็นฐานในการกำหนดอัตราศุลกากรและภาษีในประเทศ

4.เพื่อกำกับ  ควบคุมปริมาณการนำเข้า-ส่งออก

5.เพื่อกำหนดกฏว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

6.เพื่อกำหนดค่าระวางสำหรับการขนส่งระหว่างประเทศ

7.เพื่อการเจรจาการค้าของภาคธุรกิจ  และการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

8.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุม และอำนวยความสะดวกทางการค้า

และความสำคัญของ HS CODE ในแง่ของผู้ประกอบการ คือ เมื่อทราบ  HS CODE ที่ถูกต้อง จะทำให้ทราบอัตราภาษี หรือการใช้สิธิประโยชน์ทางภาษีอากร  ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุน  และตั้งราคาสินค้าได้อย่างถูกต้อง

สามารถตรวจสอบ HS CODE ได้ในเว็บไซต์ของกรมศุลกากร 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Thailand Board of Investment

กรมศุลกากร

 

Recommended Posts